
ความยากจนคืออะไร
เมื่อกล่าวถึง "ความยากจน" โดยทั่วไปจะหมายถึงความยากจนในเชิงเศรษฐกิจ (Monetary Dimension) นั่นคือพิจารณาที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือมีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ำที่ยอมรับในแต่ละสังคม เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาดแคลนรายได้เช่นนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงใช้รายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาก็จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่ดำเนินการโดยคนจน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตลาดในด้านต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อคนจน ตลอดจนการให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา เป็นต้น
สาเหตุของความยากจน
สาเหตุของความยากจนสามารถแบ่งได้เป็นสองแนวทางใหญ่ๆ คือ
สาเหตุจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่ำ เนื่องจากการขาดโอกาสในการศึกษาและพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้งการขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การมีปัญหาสุขภาพ และการมีภาระในการเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ประกอบกับการมีทรัพย์สินและที่ดินในการทำกินน้อย ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุภายในบุคคลที่ทำให้บุคคลกลายเป็นคนจนได้
แนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน
ในปัจจุบันทั้งธนาคารโลก และประเทศไทยได้เน้นมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัจจัยภายในบุคคล โดยการเปิดโอกาสด้านต่างๆ ให้กับคนจนมากขึ้น ทั้งโอกาสทางสังคม โดยการสร้างระบบประกันสังคมและระบบตาข่ายความคุ้มครองทางสังคมต่างๆขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ พัฒนาตลาด และให้เงินทุนกู้ยืมต่าง ๆ รวมถึงโอกาสทางการเมืองในแง่ของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเองมากขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกแก้ไขโดยการบูรณาการแผนงานและงบประมาณต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินการ นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างความสมดุลโดยรักษาเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้มีเสถียรภาพและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
เมื่อกล่าวถึง "ความยากจน" โดยทั่วไปจะหมายถึงความยากจนในเชิงเศรษฐกิจ (Monetary Dimension) นั่นคือพิจารณาที่ระดับรายได้ หรือฐานะทางเศรษฐกิจของบุคคลว่ามีรายได้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำ หรือมีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานคุณภาพชีวิตขั้นต่ำที่ยอมรับในแต่ละสังคม เมื่อนิยามความยากจนอิงกับการขาดแคลนรายได้เช่นนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวัดสภาวะความยากจนจึงใช้รายได้หรือรายจ่ายของครัวเรือน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาก็จะมุ่งเน้นที่การเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตสินค้าและบริการที่ดำเนินการโดยคนจน การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของตลาดในด้านต่างๆ ให้เอื้ออำนวยต่อคนจน ตลอดจนการให้เงินอุดหนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เบี้ยยังชีพคนชรา เป็นต้น

สาเหตุของความยากจนสามารถแบ่งได้เป็นสองแนวทางใหญ่ๆ คือ
สาเหตุจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่ำ เนื่องจากการขาดโอกาสในการศึกษาและพัฒนาทักษะต่างๆ รวมทั้งการขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ นอกจากนี้ การมีปัญหาสุขภาพ และการมีภาระในการเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ ประกอบกับการมีทรัพย์สินและที่ดินในการทำกินน้อย ปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุภายในบุคคลที่ทำให้บุคคลกลายเป็นคนจนได้
แนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน

ในปัจจุบันทั้งธนาคารโลก และประเทศไทยได้เน้นมาแก้ไขปัญหาความยากจนที่เกิดจากปัจจัยภายในบุคคล โดยการเปิดโอกาสด้านต่างๆ ให้กับคนจนมากขึ้น ทั้งโอกาสทางสังคม โดยการสร้างระบบประกันสังคมและระบบตาข่ายความคุ้มครองทางสังคมต่างๆขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ พัฒนาตลาด และให้เงินทุนกู้ยืมต่าง ๆ รวมถึงโอกาสทางการเมืองในแง่ของการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ให้ท้องถิ่นเรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเองมากขึ้น ส่วนปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอกแก้ไขโดยการบูรณาการแผนงานและงบประมาณต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินการ นอกจากนี้การพัฒนาเศรษฐกิจจะสร้างความสมดุลโดยรักษาเศรษฐกิจในระดับมหภาคให้มีเสถียรภาพและมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน
ปัญหาความยากจนที่พบเห็น
>>>ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก ครอบครัวแต่ละครอบครัวก็มีพื้นฐานทางฐานะครอบครัวไม่เหมือนกัน เป็นไปได้ว่าความยากจนนั้นอาจเกิดมาจากการขาดความรู้การได้รับการศึกษาที่เหมาะสมกับอาชีพที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบัน คนจนก็ยังคงมีอาชีพเพียงกรรมกรแบกหาม รายได้ไมพอยังชีพและเลี้ยงครอบครัว ปัญหาเด็เร่ร่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากครอบครัวไม่สามารถเลี้ยงดูสมาชิกที่เพิ่มขึ้นมาได้ บางคนก็เป็นขอทานบ้าง บางคนก็เก็บของเก่าขาย ซึ่งคนจนมีมากในพื้นที่ชนบท ตามต่างจังหวัดที่ทุรกันดาร ห่างจากตัวเมืองหรือตัวจังหวัด ทำให้การได้รับความสะดวกสบายในด้านการรับบริการต่างๆไม่ทั่วถึง
>>>ปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่หลายๆคนได้เห็นหรือได้สัมผัสว่าปัญหานี้เกิดจากอะไรและบุคคลเหล่านี้ดำรงชีวิตอย่างไรอยู่ในสังคม
>>>บุคคลที่ข้าพเจ้าจะกล่าวถึงในบทความนี้คือ คุณตาวัย 67 ปี ที่อาศัยอยู่ในกระท่อมที่ผู้ใจดีแบ่งปันที่ดินให้อยู่อาศัย คุณตาคนนี้ชื่อชาวบ้านเรียกกันว่าไป่ ชื่อ-สกุลจริงไม่มีผู้ใดทราบ ตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเด็กก็เห็นคุณตาท่านนี้อยู่ในหมู่บ้านนี้มาตลอด ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เช้าก็จะออกไปถือปิ่นโตให้พระที่วัดในหมู่บ้าน อาศัยข้าววัดประทังชีวิต ถ้ามีงานอะไรที่ตาไป่พอทำได้ก็จะไปรับจ้างทำงานเพื่อได้เงิน
เลี้ยงชีพให้ตนเองอยู่รอด เป็นค่ายารักษาโรคและค่าอาหารต่างๆ ตาไป่ผู้นี้มีเสื้อผ้าไม่กี่ชิ้นส่วนใหญ่ก็ได้มาจากผุ้ใจบุญนำมาบริจากให้ ผลัดเปลี่ยนกับชุดเดิมบ้าง ตาไป่อ่านหนังสือออกจบการศึกษาประมาณชั้นประถมศึกษาปีที่2 แต่งานที่ทำก็เป็นงานเล็กๆน้อยๆภายในหมู่บ้าน ทำสวน ปลูกมัน ตัดไม้ ฯลฯ รายได้จากการทำงานก็ไม่ได้ทุกวันนานๆทีถึงจะมีงานเข้ามา ดังนั้นชีวิตของตาไป่จึงต้องฝากท้องไว้กับวัดในหมู่บ้านซึ่งเป็นวัดขนาดเล็กๆไม่ได้ใหญ่โตอะไร รายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้านก็แค่พอมีพอกิน อาชีพรับจ้างทั่วไปหาเช้ากินค่ำ เป็นหมู่บ้านแบบชนบท การศึกษาไม่สูง

>>>การศึกษาจึงเป็นเหตุผลสำคัญในการเกิดปัญหาความยากจน การศึกษาทำให้เรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากเดิมมาก จากอาชีพส่วนใหญ่จะเป็นเกี่ยวกับเกษตรกรรม แต่เมื่อได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นก็จะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปตามโรงงานอุตสาหกรรม มีอาชีพที่เหมาะกับความรู้ความสามารถที่ตนเองได้ร่ำเรียนมา มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มมากขึ้น และจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นด้วยเช่นกัน
ขอบคุณที่มารูปภาพจาก
6 ความคิดเห็น:
ทำเสร็จซะที...เห้อจะผ่านมั๊ยเนี่ย
ฉะนั้น..เราก็ต้องตั้งใจเรียน เก็บเกี่ยวความรู้ให้มากที่สุด เพื่ออนาคตของเรา และ การประกอบอาชีพของเราในอนาคต...
ถึงจะจนก็ให้จนที่ฐานะ อย่าได้จนน้ำใจเลยนะค่ะ
สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเอื้ออาทร ช่วยเหลือ
เกื้อกูลกัน เพราะเราอยู่ร่วมสังคมเดียวกัน
สังคมแห่งการเอื้ออาทร
ดังนั้น หนทางที่จะแก้ไขปัญหาความยากจนได้ดีที่สุด คือการศึกษา ซึ่งประเทศไทย ต้องปรับระบบการศึกษาให้เทียบเท่ากับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพราะพื้นฐานเดิม คนไทยก็ไม่แพ้ชาติอื่นในโลก เช่นกัน
เขียนได้ดีค่ะ แต่หนูจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไรบ้าง
แสดงความคิดเห็น