
-สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
>>> สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมขนาดเล็กแต่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตในสังคมขนาดใหญ่เป็นอย่างมาก สถาบันครอบครัวจึงเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้เรียนรู้และซึมซับสิ่งที่ดีงามเพื่อนำไปปฏิบัติตนต่อสังคมที่ตนดำรงอยู่ การอยู่ร่วมกันในครอบครัวไม่ใช่มีเพียงแต่พ่อ แม่ ลูก ก็เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบได้ ถ้าหากความรักและความเอาใส่ใจซึ่งกันและกันแล้วการดำเนินชีวิตในฐานะครอบครัวก็เป็นไปได้ยาก ครอบครัวที่สมบูรณ์ไม่จำเป็นต้องมีพ่อ แม่ พี่น้องครบองค์ประกอบ ไม่ว่าจะมีแค่แม่ ลูกหรือพ่อ ลูก หากมีการเลี้ยงดูด้วยความรักและความเข้าใจแล้ว ผลที่ออกมาก็คือการมีครอบครัวที่มีความสุขนั่นเอง ครอบครัวส่วนใหญ่ของสังคม บุคคลที่มีอำนาจในการตัดสินใจแบบเบ็ดเสร็จภายในบ้านก็คือผู้เป็นพ่อซี่งเป็นหัวหน้าครอบครัว มีหน้าที่ดูแลสมาชิกในครอบครัวให้ได้รับความสุขสบาย มีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่าคนอื่นๆในครอบครัว ในภาพยนตร์เรื่องนี้ก็เช่นเดียวกันพ่อเป็นผู้รับภาระทุกอย่างภายในบ้าน มีอำนาจการตัดสินใจเหนือทุกคน เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นก็จะพยายามต่อสู้หรือผ่านปัญหานั้นๆไปด้วยตนเอง ทำให้ฉันคิดว่าครอบครัวที่ขาดการเอาใจใส่ซึ่งกันและกันขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวด้วยกันแล้ว ขาดการพูดคุยให้คำปรึกษากัน แน่นอนว่าย่อมจะมีช่องว่างเกิดขึ้น ทำให้สมาชิกในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นภรรยา ลูกหรือผู้เป็นพ่อเองมีความสัมพันธ์ที่ห่างกันออกไปต่างคนต่างอยู่ ความไว้ใจหรือความเชื่อใจของลูกๆก็จะอยู่กับผู้เป็นแม่มากกว่าซึ่งเกิดจากการใกล้ชิด ทำให้ลูกๆไว้ใจหรือสามารถเข้ามาปรึกษากับคนในครอบครัวได้บ้าง
>>>ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้ฉันคิดย้อนไปถึงครอบครัวของตนเองที่เป็นไปในทิศทางเดียวหรือคล้ายๆกับภาพยนตร์เรื่องนี้ คือพ่อจะเป็นเสาหลักของบ้านเป็นหัวหน้าครอบครัว ดูแลทุกคนในครอบครัวให้อยู่อย่างสุขสบาย พ่อออกไปทำงานแต่เช้ากลับมาบ้านในตอนเย็นหรือบางครั้งก็ไม่ได้กลับเพราะย้ายที่ทำงานไปที่อื่นๆซึ่งไกลออกไป ถามว่าเรารักและผูกพันกับพ่อเรามั๊ย เรารักและผูกพันกับท่านมาก แต่ด้วยความที่เรากับพ่อเจอกันน้อย ตอนเช้ายากมากที่จะได้เจอเพราะพ่อไปทำงานก่อน ส่วนเราก็ไปโรงเรียนกลับมาก็เจอแม่ การพูดคุยกับพ่อถือว่าน้อยมาก ทำให้บางเรื่องหรือบางครั้งเราไม่กล้าที่จะคุยกับพ่อ คนที่เราสามารถไว้ใจหรือสามารถพูดคุยได้ก็จะเป็นแม่ ต้องขอบอกก่อนว่าพ่อฉันเป็นคนใจดีไม่ได้โหดร้ายลงไม้ลงมือตีลูกแบบในภาพยนตร์แน่นอน^_^+

>>>ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ฉันรู้สึกว่าครอบครัวที่เพรียบพร้อมไปด้วยความสุขและความรักความเข้าใจต้องมาจากสมาชิกในครอบครัว มีความเข้าใจมีการพูดคุยให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน เมื่อพบกับปัญหาหรืออุปสรรคก็ต้องผ่านพ้นไปด้วยกัน จะเป็นหน้าที่ของคนใดคนหนึ่งไม่ได้ ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อเด็กที่กำลังจะเจริญเติบโตต่อไปสู่สังคมที่กว้างใหญ่และน่าเรียนรู้มากขึ้น ครอบครัวที่ดีที่ได้รับความรักและความเอาใจใส่รวมทั้งความเข้าใจจะเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับลูกๆในการดำเนินชีวิตในภายภาคหน้าได้อย่างมั่นคงและแข็งแกร่ง
-ทฤษฎีสังคม
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ (Structural-Functional theory)
แนวความคิดในการพัฒนาทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ของอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกันและกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้
โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภทคือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equilibrium) ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
-ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
-ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
-ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภทคือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้
อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski) ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้น
ทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equilibrium) ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือ บุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของวัฒนธรรม ซึ่งรวมถึง ความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมมีการรวมตัวเข้าด้วยกันและเป็นตัวต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงในสังคม
โดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้
-ในการศึกษาและการวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน
-ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล
-ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลย์ของระบบจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่า ความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง
-หากข้าพเจ้าเป็นพ่อ

-หากข้าพเจ้าเป็นแม่

>>>ถ้าเป็นแม่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ฉันคิดว่าคนเป็นแม่เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่คอยดูแลเลี้ยงดูลูกๆจนเติบใหญ่ ดูแลสามี คนในบ้านไม่ขาดตกบกพร่อง ในฐานะที่เป็นแม่ความใกล้ชิดสนิทสนมมากกว่าผู้เป็นพ่อแน่นอนดังนั้นแม่จะต้องเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวให้ลูกๆ คอยอบรมสั่งสอนพูดคุยมีสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ใช้ความรักและความเข้าใจในการดำเนินชีวิตครอบครัว เมื่อผู้นำของบ้านล้มผู้เป็นเสารองก็ต้องช่วยค้ำจุนบ้านให้อยู่รอดต่อไปได้โดยไม่พังทลายลง นั่นก็คือผู้เป็นแม่นอกจากจะทำหน้าที่ดูแลสามีเลี้ยงลูกทำงานบ้านแล้วต้องแบ่งเบาภาระหรือร่วมกันแก้ไขกับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นเพื่อให้ครอบคร้วผ่านพ้นวิกฤติไปได้ ดังคำที่ว่ามีสุขร่วมเสพมีทุกข์ร่วมต้านไม่ปล่อยให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเผชิญอยู่กับปัญหาเพียงลำพัง
-หากข้าพเจ้าเป็นพี่ชายคนโต
>>>หากเป็นพี่ชายคนโตในเรื่อง ฉันก็จะตั้งใจเรียนให้จบเพื่อจะได้มาช่วยแบ่งเบาภาระของผู้เป็นพ่อและแม่ ดูแลน้องไม่ทำให้พ่อแม่ต้องเป็นห่วง เชื่อฟังและรับฟังคนในบ้าน ใช้การพูดคุยมากกว่าการนิ่งหรือเงียบ การแสดงความรักกับคนในครอบครัวตามโอกาส พี่คนโตจะไม่ทำให้พ่อและแม่ต้องผิดหวัง

-หากเป็นน้องชายคนเล็ก
>>>หากเป็นฉันเป็นน้องชายคนเล็กสิ่งที่ต้องทำให้ดีที่สุด ณ เวลานี้คือการตั้งใจเรียน ไม่ทำให้พ่อแม่ต้องผิดหวัง เชื่อฟังคำสั่งสอนของพ่อกับแม่ ปรึกษาและพูดคุยกับคนในครอบครัวไม่แก้ปัญหาเองหรือหาทางออกเอง ในฐานะที่เรายังเป็นเด็กการที่เราไปปรึกษาผู้ปกครองย่อมเป็นเรื่องที่ดีเพราะผู้ใหญ่จะช่วยให้เรากล้าที่จะตัดสินใจมากขึ้น อย่างเช่นในเรื่องเขาต้องการเรียนเปียโน ถ้าเขาเดินมาขอหรือปรึกษากับแม่ว่าตั้งใจที่จะเรียนจริงๆก็คงไม่ต้องแอบเอาเงินค่าอาหารไปเป็นค่าเรียนเปียโน หรืออีกวิธีคือเข้าไปคุยกับพ่อดีๆว่าต้องการเรียนด้วยใจที่รักจริงๆ จะช่วยแบ่งเบาภาระทางบ้าน รวมทั้งไม่แสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมต่อบิดาโดนการโดนคีย์บอร์ดใส่พ่อของตนเอง ควรพูดจาด้วยเหตุและผลจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด และความฝันที่จะเป็นนักเปียโนก็จะราบรื่นปราศจากปัญหาหรืออุปสรรคในเส้นทางนักเปียโนรวมทั้งได้ทั้งแรงใจที่สำคัญจากพ่อกับแม่ด้วย

>>> หากภาพยนตร์เรื่องเกิดขึ้นกับฉันหรือฉันสามารถเลือกได้ในการเป็นหนึ่งในตัวละครในเรื่องนี้ ฉันขอเลือกเป็นน้องชายคนเล็ก เพราะการที่เด็กคนหนึ่งแม้ว่าจะอยู่ในครอบครัวที่สมบูรณ์ คือ มี พ่อ แม่ พี่ น้อง อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา แต่การใช้ชีวิตของคนในครอบครัวก็เหมือนกับต่างคนต่างอยู่ แต่ละคนก็ทำหน้าที่ของตนเองไป พ่อทำงาน แม่ทำงานบ้านดูแลลูกๆ ส่วนลูกๆเองก็เรียนหนังสือและหน้าที่ของตน ถ้าจะมองให้ลึกลงไปแล้วความเป็นครอบครัวมีอยู่จริง แต่ถามว่าอบอุ่นมั๊ยไม่มีความอบอุ่นเลยเพราะครอบครัวที่ขาดการพูดคุยและขาดการมีปฏิสัมพันธ์กันย่อมก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา น้องชายคนเล็กแม้ว่าจะอยู่ในครอบครัวที่เป็นเช่นนี้แต่เขาก็ไม่ได้ทำตัวที่ต่อต้านหรือมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือเบี่ยงเบนไปในทางที่ไม่ดี เขากลับทำตัวน่ารักไม่ทำตัวเป็นเด็กมีปัญหา แม้ว่าความสนิทสนมกับผู้เป็นพ่อจะน้อยมากแต่เขาก็ยังมีสิ่งยึดเหนี่ยวในครอบครัวนั่นก็คือแม่ การทำตามความฝันของตนเองเป็นเรื่องที่ดี ดังเช่นในภาพยนตร์เขามีความฝันและความสามารถในด้านเปียโน ถ้าเป็นฉันก็จะทำอย่างที่น้องคนเล็กทำนั่นคือเดินตามความฝันของตนเองและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อที่จะทำให้พ่อและแม่ภูมิใจในตัวเราและเชื่อมั่นว่าเราทำได้ คำคมนี้สามารถใช้กับภาพยนตร์หรือตัวน้องคนเล็กได้ดีคือ ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น ดังนั้นอย่าปล่อยให้ความฝันของเราต้องหลุดลอยไปเพียงเพราะคำว่าขาดโอกาสหรือขาดการสนับสนุน
-อื่นๆ
-ข้อคิด
>>>สถาบันครอบครัวอยู่ได้ด้วยความรักและความเข้าใจ<<<
-คำถาม^O^+
1.ภาพยนตร์เรื่องนี้เหมาะกับรางวัลที่ได้รับมาหรือไม่?
-นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
-ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ฯลฯ